ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Pipe Insulations

>>   เกิดเสียงในท่อได้อย่างไร >> ข้อกำหนดการแก้ปัญหาทางด้านเสียง >>   อันตรายและสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ >>   ของไหลในท่อลำเลียง >>   ISO 15665 >>   Case study >> คำศัพท์    เกิดเสียงในท่อ ได้อย่างไร? - เสียงในท่อลำเลียงเกิดจากแรงดันที่ส่งเข้าไปในท่อเพื่อลำเลียง ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ ให้เดินทางจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง  -  แรงดันที่เกิดขึ้นจะทำให้ media ที่อยู่ในท่อลำเลียงเกิดการเคลื่อน และสั่นสะเทือนไปในท่อระดับเสียงที่เกิดขึ้นจากการไหลจะมีลักษณะเฉพาะโดยสังเกตได้จากย่านความถี่ของเสียงที่ดังกระจายออกมาจากผิวท่อ   -  ระดับความดังของเสียงยังขึ้นกับความเร็วของของไหลภายในท่อยิ่งความเร็วในการไหลสูงทำให้ระดับเสียงยิ่งมีความดังมากขึ้น -  การสะท้อนของเสียงในของไหลภายในท่อที่มีขนาดเล็กใหญ่ต่างกันก็จะมีผลต่อระดับเสียงของท่อแตกต่างกันไป -  จุดรองรับท่อหรือแขวนท่อก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มระดับเสียง เนื่องจากอาจเกิด Resonance ระหว่างการสั่นสะเทือนของท่อ และ  Support ท่อได้  -  ตำแหน่ง และทิศทางของท่อที่
โพสต์ล่าสุด

การตรวจวัดเสียงรบกวนในพื้นที่ต่างๆ

การตรวจวัดเสียงรบกวนในพื้นที่ต่างๆ และ วิเคราะห์ออกแบบงานควบคุมเสียง           เสียงรบกวนเป็นปัญหาที่พวกเรานั้นได้รับจากการดำเนินกิจกรรมของแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆจนกลายเป็นเหตุเดือดร้อนและส่งความรำคาญเป็นอย่างมาก  ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมามีสถิติการร้องเรียนเรื่องนี้เป็นลำดับที่ 2 รองจามลพิษทางอากาศ การวัดเสียงรบกวนส่วนใหญ่นั้นเป็นข้อพิพาทระหว่าง ประชาชนกับประชาชน บางครั้งอาจเป็นคดีที่ประชาชนฟ้องร้องหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลจัดการปัญหาด้านเสียงรบกวน ดังนั้นการตรวจวัดเสียงรบกวนจึงต้องมีการให้ผลการวัดมีความถูกต้อง และให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย      ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงและการปฏิบัติเพื่อให้มีความเชื่อถือของผลการวัด มี 3 ประการ                -  เครื่องมือวัด ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด                -  กระบวนการวัดและประมวลผล ต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ                -  ผู้วัด ต้องมีความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดและดำเนินการวัดและประมวลผลได้อย่างถูกต้อง ในการตรวจวัดระดับเสียงรบกวนก็ต้องมีคำที่เกี่ยวกับการวัดระดับเสียง ที่พวกเรานั้นควรรู้จักเบื้องต้น           "ระดั

คำศัพท์

Acoustic Insulation = วัสดุที่ใช้ในการกันเสียง Actuator = อุปกรณ์ควบคุมการไหลเวียนของของไหลภายใน Body Valve AHU (Air Handling Unit) =   การนำอากาศภายนอกมาปรับอากาศ และส่งอากาศไปยังอาคาร Air Duct =  ท่อให้อากาศเย็นหรือร้อนไหลผ่าน ทำด้วยโลหะหุ้มฉนวนใช้งานปรับอากาศในอาคาร Cathodic Protection = การใช้โลหะกันการกัดกร่อนของของไหลและการป้องกันการเกิดสนิม Centrifugal Compressor = เครื่องอัดอากาศแบบหมุนเหวี่ยง Close Cell = วัสดุที่ไม่มีรูพรุน ก๊าซไม่สามารถผ่านได้ Control Valve =  อุปกรณ์ที่ปรับเปลี่ยนอัตราการไหลของของไหล   Decible [A] =  สเกล ของ เครื่องวัด เสียง ที่ สร้าง เลียน แบบ ลักษณะ การ ทำงาน ของ หู มนุษย์ FB E ( Fusion Bonded Epoxy) = สารเคลือบ การป้องกันการผุกร่อนภายใน Galvanic Corrosion =  การกัดกร่อนแกลแวนิก  เกิดขึ้นเมื่อสารละลายตัวนำไฟฟ้าที่มีฤทธิกัดกร่อนและวัสดุโลหะสองชนิดสัมผัสกัน Hanger =  สลักแขวนท่อ Insertion Loss =  ค่าที่แปรผันตามสภาพแวดล้อมของงานการหุ้มฉนวน ISO ( International Organization for Standardization) =  มาตรฐานการวัดคุณภาพอ

ISO 15665

ทำไมต้องมี ISO ? ในปัจจุบันมีวิธีการและวัสดุหลายรูปแบบที่ถูกคิดค้นและใช้เป็นแนวทางการลดเสียง แต่ไม่ได้มีการทดสอบอย่างเป็นมาตรฐาน วัสดุและวิธีการเหล่านั้นอาจจะสามารถใช้ลดเสียงรบกวนหรือแก้ปัญหาได้แต่ไม่สามารถบ่งบอกถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างแม่นยำ ISO จึงเป็นเหมือนมาตรฐานที่ได้ผ่านการทดสอบมีข้อมูลรองรับและสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้งานได้ในงานที่จะแก้ปัญหา โดยค่าที่ถูกทดสอบมาได้นั้นมีความแม่นยำและเที่ยงตรงที่สุดแล้วและISOที่เราเลือกใช้เกี่ยวกับระบบท่อคือ ISO 15665 ISO 15665            การเลือกใช้วัสดุมาทำการหุ้มท่อ จะมีการแบ่งเป็นclass A B C ซึ่งจะแบ่งตามความดังของท่อที่ต้องการจะลด และแยกย่อยลงไปอีกเป็น A1 A2 A3 เป็นต้น ซึ่งที่แยกย่อยลงมาจะแบ่งตามขนาดของท่ออีกที  ใช้นิยามประสิทธิภาพของอะคูสติกเป็นคลาสได้แก่ Class A , B และ C ของฉนวนที่นำมาหุ้มท่อ และอธิบายถึงการที่นำมาทดสอบเทียบกับการก่อสร้างรูปแบบต่างๆเพื่อหาฉนวนที่สามารถควบคุมเสียงให้ได้ตามประสิทธิภาพตามคลาสที่กำหนดไว้ ซึ่งมาตรฐานนี้ใช้ได้กับท่อที่เป็นเหล็กทรงกระบอกและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับท่อ แต่ไม่สา

Case study

        Gas Mixing Station           โรงงานที่มีการส่งแก๊ซโดยใช้ท่อเป็นตัวกลางในการส่ง จะมีปัญหาเสียงที่เกิดขึ้นภายในโรงงานสืบเนื่องมาจากแรงดันภายในท่อที่มีการอัดความดันเพื่อใช้ในการส่งแก๊ซจะทำให้มีเสียงดังเกิดขึ้น ภายในระบบท่อจะมีส่วนที่ทำให้เกิดเสียงอยู่ 2 ส่วนคือ Control Valve ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนแรงดันของของไหลภายในท่อ และ ส่วนที่เรียกว่า Reduce เป็นส่วนที่เปลี่ยนเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อให้ลดลง ทำให้เกิดการบีบอัดแรงดังและทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เสียงเหล่านั้นนอกจากเกิดจากจุดกำเนิดข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้นยังสั่นสะเทือนไปตามแนวท่อทำให้เกิดเสียงดังเพิ่มเติมภายในโรงงานอีกด้วย • High rise Office Building           Office building มีปัญหาเสียงที่มาจากเครื่อง AHU ที่ดังจากห้องเครื่องและกระจายดังออกมาตามแนวท่อแอร์ ตามออฟฟิสและสำนักงานใหญ่ๆที่ต้องการเสียงเงียบๆตามมาตราฐาน NC40 เสียงที่ดังออกมาจากห้องเครื่องและดังออกมาตามท่อแอร์นั้นจึงถือเป็นเสียงรบกวนตามกฎหมาย  • Petrol Chemical Plant                 เสียงโดยรวมเกิดจากเครื่องจักรและเสียงท่อ ซึ่ง

ตัวอย่างการเกิดเสียง

    ตัวอย่างการเกิดเสียงในท่อลม •ในรูปภาพเป็นท่อแอร์ซึ่งเสียงที่เกิดจะเกิดจากแรงดันภายในท่อและยังเกิดจากการที่ลมภายในท่อกระทบกับวัสดุของท่อที่มีการหักเหทำให้เกิดเสียงออกมาให้ได้ยิน จะมีอยู่2 จุดในรูปที่จะเกิดการกระทบกันระหว่างลมและวัสดุของท่อ •จากภาพด้านล่าง แสดงให้เห็นเส้นทางของลมภายในเครื่อง AHU โดยเสียงที่เกิดภายในเครื่อง AHU จะเกิดจากมอเตอร์และใบพัดที่ใช้ส่งลมไปยัง Air Duct ลมที่ถูกเป่าออกมาจะมีเสียงดังกว่าลมที่ถูกดูดเข้าไป โดยนอกจากเสียงที่เกิดจากมอเตอร์ยังมีเสียงลมที่ถูกเป่าออกมากระแทกกับบริเวณแนวโค้งของท่ออีกด้วย   ตัวอย่างการเกิดเสียงในท่อแก๊ซ •จะเกิดเสียงคล้ายกับท่อลมซึ่งก๊าซที่ไหลออกมาตามท่อ เมื่อเจอจุดหักเลี้ยวจะมีเสียงเกิดจากการกระทบระหว่างแก๊ซและวัสดุของท่อ ในรูปจะเป็นจุดที่2,3และ4ที่มีจะเกิดเสียงลักษณะที่กระทบกัน •บริเวณที่เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อแคบลงเรียกว่า Reduce จะทำให้ของไหลภายในท่อที่สิ่งมาด้วยความเร็วสูงถูกบีบอัดและชนกับตัว Reduce ทำให้เกิดเสียงดังขึ้นตามภาพ   ตัวอย่างการเกิดเสียงของcontrolvalve •Controlvalve จะทำหน้าที่ควบคุมแ

ของไหลในท่อลำเลียง

 ชนิดของของไหลในท่อลำเลียง 1. ท่อส่งของเหลว        คุณสมบัติทั่วไปของท่อส่งของเหลว จะต้องมีความทนทานต่อการผุกร่อน ไม่แตกหักง่าย สามารถรับแรงดันได้ดี โดยท่อส่งของเหลวแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ท่อเย็น และ ท่อร้อน                     - ท่อเย็น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือ การรักษาความเย็นภายในท่อ โดยไม่ให้ความร้อนแทรกเข้ามา ท่อเย็นจะแบ่งได้ 3ประเภท ได้แก่ 1.ท่อส่งน้ำประปา 2.ท่อส่งน้ำดื่ม 3.ท่อนำสารทำความเย็น                      - ท่อร้อน ได้แก่ ท่อน้ำมัน ซึ่งคุณสมบัติของท่อส่งน้ำมัน ทำด้วยเหล็กเหนียวที่มีความแข็งแรง เพราะปกติจะฝังอยู่ดินที่มีความลึกอย่างน้อย1.5เมตร เคลือบสารFBE (Fusion Boded Epoxy) เพื่อป้องกันการผุกร่อน ทั้งภายนอกและภายในท่อ ติดตั้งระบบ Cathodic Protection System เป็นระบบไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันการผุกร่อนของท่อ และจะต้องมีการพอกคอนกรีตรอบนอกท่อในกรณีวางท่อใต้น้ำหรือดินเหลว  2. ท่อส่งของแข็ง • ส่วนใหญ่จะเป็นของที่มีลักษณะเป็นเม็ด เช่น เมล็ดกาแฟ เม็ดพลาสติก เรซิ่น เป็นต้น วัสดุที่ใช้ในการทำท่อจะใช้ได้ทั้งเหล็ก หรือ PVCที่เป็นทั้งแบบอ่อนและแบบแข็ง โดยท่อส่