ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ของไหลในท่อลำเลียง




 ชนิดของของไหลในท่อลำเลียง

1. ท่อส่งของเหลว
       คุณสมบัติทั่วไปของท่อส่งของเหลว จะต้องมีความทนทานต่อการผุกร่อน ไม่แตกหักง่าย สามารถรับแรงดันได้ดี โดยท่อส่งของเหลวแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ท่อเย็น และ ท่อร้อน          
         - ท่อเย็น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือ การรักษาความเย็นภายในท่อ โดยไม่ให้ความร้อนแทรกเข้ามา ท่อเย็นจะแบ่งได้ 3ประเภท ได้แก่ 1.ท่อส่งน้ำประปา 2.ท่อส่งน้ำดื่ม 3.ท่อนำสารทำความเย็น          
          - ท่อร้อน ได้แก่ ท่อน้ำมัน ซึ่งคุณสมบัติของท่อส่งน้ำมัน ทำด้วยเหล็กเหนียวที่มีความแข็งแรง เพราะปกติจะฝังอยู่ดินที่มีความลึกอย่างน้อย1.5เมตร เคลือบสารFBE (Fusion Boded Epoxy) เพื่อป้องกันการผุกร่อน ทั้งภายนอกและภายในท่อ ติดตั้งระบบ Cathodic Protection System เป็นระบบไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันการผุกร่อนของท่อ และจะต้องมีการพอกคอนกรีตรอบนอกท่อในกรณีวางท่อใต้น้ำหรือดินเหลว 




2. ท่อส่งของแข็ง
• ส่วนใหญ่จะเป็นของที่มีลักษณะเป็นเม็ด เช่น เมล็ดกาแฟ เม็ดพลาสติก เรซิ่น เป็นต้น วัสดุที่ใช้ในการทำท่อจะใช้ได้ทั้งเหล็ก หรือ PVCที่เป็นทั้งแบบอ่อนและแบบแข็ง โดยท่อส่งจะต้องไม่มีปัญหาด้านไฟฟ้าสถิตเนื่องจากเวลาของแข็งเสียดสีกันจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้และส่งผลให้ท่ออุตตัน
• คุณสมบัติ 
   - เป็นฉนวนไฟฟ้า 
   - ป้องกันไฟฟ้าสถิต 
   - ทนการกัดกร่อน 
   - โค้งงอได้ดี 
   - ทนแรงดูดและแรงดัน




3. ท่อส่งก๊าซ
• ก๊าซธรรมชาติ
   - เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟ ลุกไหม้ และระเบิดได้มาใช้ประโยชน์นั้น จำเป็นต้องใช้การขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สำคัญต้องเป็นระบบที่สามารถนำก๊าซธรรมชาติไปสู่มือผู้บริโภคได้อย่าง ปลอดภัยและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด การขนส่งก๊าซธรรมชาติในสถานะของก๊าซ จึงเหมาะสมที่จะใช้กระบวนขนส่งโดยระบบท่อมากที่สุด เนื่องจากเป็นเวลานาน ที่สำคัญคือ แยกออกจากการขนส่งมวลชนโดยเด็ดขาด
   - ภายในท่อส่งก๊าซฯมีแรงดันสูง หากอยู่ติดชิดกับท่อในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ จะทำให้ก๊าซ พุ่งเข้ามาสัมผัสปะทะกับร่างกายโดยตรงอาจทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้
   - คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดค่ามาตรฐานระดับเสียงในบรรยากาศโดย ทั่วไปในประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15( พ.ศ. 2540) ว่าระดับเสียงใน 24 ชั่วโมง มีค่ามาตรฐานที่ระดับต่ำกว่า 70 เดซิเบล  หากท่อส่งก๊าซฯ เกิดอุบัติเหตุรั่วไหลด้วยความดันสูง ควรอพยพผู้คนออกจากบริเวณนั้น เพราะหากอยู่ใกล้เป็นเวลานาน  อาจส่งผลกระทบต่อระบบการได้ยิน




Air Duct
- ท่อลมเย็นที่ทำหน้าที่ลำเลียงอากาศจาก AHU ไปยังที่ต่างๆในระบบปรับอากาศ
Air Duct มี 4 ประเภท ได้แก่
1.Supply Air Duct (SAD) - ท่อจ่ายลมเย็นไปยังส่วนต่างๆของอาคาร
2.Return Air Duct (RAD) - ท่อดึงลมกลับไปยัง AHU
3.Exhaust Air Duct (EAD) - ท่อระบายอากาศ ระบายอากาศภายในอาคาร
4.Fresh Air Duct (FAD) - ท่อเติมอากาศ เติมอากาศเข้ามาภายในอาคาร


- เสียงที่เกิดจากในระบบปรับอากาศ
  • บริเวณที่ตัวท่อมีการเปลี่ยนเส้นทางหรือเปลี่ยนขนาด
  • เสียงที่มีต้นกำเนิดมาจากเครื่อง AHU ภายในห้องเครื่องแล้วสั่นสะเทือนผ่านมายังท่อ (Air Duct)
  • บริเวณปลายท่อ SAD และ RAD

- ลักษณะของเสียง
เนื่องจากท่อ Air Duct มีลักษณะเป็นโลหะของแข็งที่มีความสามารถในการสั่นสะเทือนสูงอยู่แล้วการที่มีเสียงเกิดขึ้นจากต้นทางแน่นอนว่าท่อเหล่านี้นอกจากนำความเย็นไปสู่ห้องต่างๆภายในอาคารยังนำเสียงที่น่ารำคาญและเป็นที่รบกวนอีกด้วย เสียงเหล่านี้เกิดจากลมที่มีแรงดันสูงเคลื่อนผ่านท่อด้วยความเร็ว โดยจะขึ้นอยู่กับขนาดของท่อและทิศทางในการเดินท่อ ปัญหาส่วนใหญ่ที่จะเกิดเสียงรบกวนคือบริเวณจุดเปลี่ยนทิศทางลมของ ​Air Duct ที่จะทำให้ลมที่มีความเร็วเปลี่ยนทิศทางและกระทบกับผิวของ Air Duct ทำให้เกิดเสียงขึ้นภายในท่อและกระจายผ่านตัวกลางมายังหูของเรา โดยเสียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดเพียงแค่จุดนั้นแล้วหายไปแต่ยังคงสั่นและแพร่กระจายไปตามท่ออีกระยะหนึ่งด้วย ทำให้การแก้ปัญหาเสียงจาก Air Duct มีความยุ่งยากค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังมีเสียงของเครื่อง AHU ภายในห้องเครื่องที่ทำหน้าที่ขับลมไปผ่าน Air Duct แน่นอนว่าเสียงเหล่านั้นก็มาพร้อมกับความเร็วลมที่เครื่อง AHU ปล่อยลมออกมาเช่นกัน(เสียงลมเกิดจากการเปลี่ยนทิศ สั่นสะเทือนตัวพัดลม ทิศทางการเกิดลม FW,BW Fan เสียงให้ค่าไม่เท่ากัน วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือเครื่อง การออกแบบductเป็นผลของการเกิดเสียง)



ความคิดเห็น