ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตรวจวัดเสียงรบกวนในพื้นที่ต่างๆ

การตรวจวัดเสียงรบกวนในพื้นที่ต่างๆ และ วิเคราะห์ออกแบบงานควบคุมเสียง


        เสียงรบกวนเป็นปัญหาที่พวกเรานั้นได้รับจากการดำเนินกิจกรรมของแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆจนกลายเป็นเหตุเดือดร้อนและส่งความรำคาญเป็นอย่างมาก  ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมามีสถิติการร้องเรียนเรื่องนี้เป็นลำดับที่ 2 รองจามลพิษทางอากาศ การวัดเสียงรบกวนส่วนใหญ่นั้นเป็นข้อพิพาทระหว่าง ประชาชนกับประชาชน บางครั้งอาจเป็นคดีที่ประชาชนฟ้องร้องหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลจัดการปัญหาด้านเสียงรบกวน ดังนั้นการตรวจวัดเสียงรบกวนจึงต้องมีการให้ผลการวัดมีความถูกต้อง และให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย

    ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงและการปฏิบัติเพื่อให้มีความเชื่อถือของผลการวัด มี 3 ประการ

            เครื่องมือวัด ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด

            กระบวนการวัดและประมวลผล ต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ

            ผู้วัด ต้องมีความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดและดำเนินการวัดและประมวลผลได้อย่างถูกต้อง

ในการตรวจวัดระดับเสียงรบกวนก็ต้องมีคำที่เกี่ยวกับการวัดระดับเสียง ที่พวกเรานั้นควรรู้จักเบื้องต้น

        "ระดับเสียงพื้นฐาน"  (Background Noise Level) หมายถึง ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อม ในขณะยังไม่เกิดเสียงหรือไม่ได้รับเสียงจากแหล่งกำเนิด ตรวจวัดเป็นค่า Percentile Level 90 หรือ LA90
 
        "ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน" (Residual Noise Level) หมายถึง ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมในขณะที่ยังไม่เกิดเสียงหรือไม่ได้รับเสียงจากแหล่งกำเนิด โดยตรวจวัดในช่วงเวลาเดียวกับระดับเสียงพื้นฐาน ตรวจวัดเป็นค่าระดับเสียงเฉลี่ย  Equivalent Continuous Sound Pressure Level , Leq  หรือ LAeq

        "ระดับเสียงขณะแหล่งกำเนิดเกิดเสียง" (Ambient sound level) : ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมในขณะได้รับในขณะที่ได้รับเสียงจากแหล่งกำเนิด ที่คาดว่าเป็นจุดที่จะจะได้รับการรบกวน ตรวจวัดเป็นค่าระดับเสียงเฉลี่ย  Equivalent Continuous Sound Pressure Level , Leq  หรือ LAeq

การหาแหล่งกำเนิดเสียง Noise source identification :  Nor848A -  Acoustic Camera 

        ในการหาแหล่งกำเนิดเสียงในสมัยก่อนต้องอาศัยการใช้การฟังของมนุษย์เป็นตัวระบุแหล่งกำเนิดเสียง ใช้ในงานทางทหาร ต่อมาได้มีการผลิตเครื่องมือวัดเสียงเลยได้มีการใช้เครื่องวัดเสียงไปวัดตามจุดต่างๆเพื่อหาจุดที่เสียงดังที่สุด แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในการหาแหล่งกำเนิดของเสียงจริงๆได้เพราะว่ามีการใช้ไมโครโฟนแค่ตัวเดียว 
โดยในปัจจุบันใน  ผู้ผลิต Nor848A ได้มีการพัฒนาระบบ Array microphones โดยใช้หลักการ Acoustic Beampattern ในการระบุหาตำแหน่งเสียงที่เกิดขึ้น และใช้ร่วมกับระบบภาพ

    


รูปที่ 1 ตัวอย่างภาพการใช้ Acoustic Camera ในการหาแหล่งกำเนิดเสียง

วิเคราะห์เสียงด้วยโปรแกรมคำนวณทางคณิตศาสตร์ MODELING NOISE SIMULATION VIA OTL SUITE 3D

        เราเลือกใช้โปรแกรม Olive Tree Lab การสร้างแบบจำลอง มิติ เพื่อดูการเดินทางของเสียง การสะท้อนของเสียงที่ไปกระทบกับผนัง และจำลองโดยการใส่วัสดุที่มีค่าทางอะคูสติก ที่ใช้ในแก้ไขปัญหา และ ช่วยให้งาน ออกแบบการ ควบคุมเสียงเป็นไปอย่างถูกต้อง และ แม่นยำมากขึ้นในการคำนวณ พื้นที่อะคูสติกที่สนใจและพื้นที่ที่มีภูมิสถาปัตย์ แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม โดยสามารถคำนวณค่าในงานประเภท

            Room Acoustic

            Open Plan Office

            Outdoor Distribution

            Scattering Polar Plotter

            Spherical sound pressure (not energy) wave propagation over impedance surfaces

            Source Directivity

            Head Related Transfer Function

            Unique Visualization Features

รูปที่ 2 จำลองการสะท้อนของเสียง

รูปที่ 3 วัสดุและค่าทางอะคูสติกที่สามารถออกแบบเองได้


การสร้างแผนผังเสียง Noise contour / Noise Mapping 

        การสร้างแผนที่เสียงเพื่อศึกษาการกระจายเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียง เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการออกแบบและแก้ไข้ปัญหาต่อไป ซึ่งแผนที่ หรือ Noise contour สามารถนำมาใช้ในการสื่อสารสภาพแวดล้อมของการทำงาน  สภาพการรบกวนของเสียงจากเครื่องจักร การตรวจวัดก่อนและหลังดำเนินการแก้ปัญหา เป็นรูปแบบการสื่อสารได้ในหลายมิติ 

รูปที่ 4 ภาพ Noise Contour

การวางแผนการทำงาน เช่น การวางผังของเครื่องจักร และ รูปแบบการทำงาน ที่ให้คนทำงานอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง

การมองวัตถุประสงค์ของการควบคุมเสียงในแต่ละพื้นที่ว่ามีความจำเป็นมากน้อยเท่าไหร่   มีคนได้รับการรบกวนในพื้นที่นั้นๆ มากน้อยเพียงใด รูปแบบการกระจายเสียงในพื้นที่ ส่งผลรบกวนต่อคนอย่างไร

การเลือกซื้อเครื่องจักรที่มีเสียงต่ำ เพื่อลดปัญหา เรื่องการควบคุมเสียงในอนาคต 

วางแผนการควบคุมเสียงด้วยอุปกรณ์ควบคุมเท่าที่จำเป็น และ ทำการจำลองสภาพของเสียง เพื่อเป็นแนวทางในการก่อสร้างอุปกรณ์ป้องกันเสียง  เช่น 

        - กล่องครอบลดเสียง(Acoustic enclosure) 
        - กำแพงกั้นเสียง (Sound wall) 
        - ฉนวนดูดกลืนเสียง (Sound proof) 
        - อุปกรณ์ลดเสียงในระบบลม เช่น Duct Lining หรือ Silencer, Acoustic Louver 
        - การใช้ฉนวนหุ้มท่อลดเสียง  (Acoustic pipe insulation)
        - ผนังกั้นเสียงเครื่องจักร  (Sound screen)

การออกแบบและควบคุมเสียง Noise Control Solution

การออกแบบ งานควบคุมเสียงใน พื้นที่ทำงาน  ที่มีเครื่องจักร Noise Control design for Work Place containing machinery

        การตรวจสอบและวัดเสียงในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรทำงานอยู่ต้องคำนึ่งถึงการกระจายเสียงของเครื่องจักร และ เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องจักรนั้นๆ เพื่อนให้เราสามารถนำข้อมูลและข้อบกพร่องที่มีอยู่ สามารถนำไปแก้ไขต่อได้ โดยการออกแบบแลกแก้ไขต้องทำตามมาตรฐาน ISO 11690-1 และ ISO 11690-2 โดยผู้ออกแบบต้องทราบถึงรูปแบบการทำงานอันได้แก่

            Noise Immission at work station  คือ รูปแบบการรับเสียงภายในพื้นที่ทำงาน

           Noise Exposure  คือ ระดับเสียงที่พนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้รับเสียงสะสมตลอดเวลาที่ทำงาราทั้งในและนอกพื้นที

            พื้นที่ภายในห้อง มีระดับการดูดกลืนเสียงของห้องอย่างไร Room constant

            อุปกรณ์ควบคุมเสียง หรือ การจัดวางรูปแบบของพื้นที่ทำงาน เอื้อต่อการควบคุมเสียงได้อย่างไร  ค่าต่างๆ ที่ควรทราบ เช่น  Insertion loss ของวัสดุ,  ค่าการดูดกลืนเสียงของวัสดุ เป็นต้น

        ในส่วนของหลักการคุบคุมเสียงนั้น สามารถทำได้ตั้งแต่ต้นเหตุ จนถึงปลายเหตุ ขึ้นอยู่กับว่างบประมาณนั้นการลดเสียงนั้นมีมากแค่ไหน ถ้าหากโรงงานนั้นยังอยู่ในช่วงดำเนินการสร้างจะเป็นการแก้ไขปัญหาภายหน้าซึ่งมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการแก้ไขปัญหาของเสียงที่สุดที่สุด สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดสเปคของเครื่องจักรให้มีเสียงรบกวนที่ต่ำ และการจัดแปลนให้เครื่องจักรที่ส่งเสียงดังนั้นให้อยู่ห่างจากคนทำงาน

        ในทางกลับกันหากแก้ไขจากแหล่งกำเนิดเสียงที่ติดตั้งแล้วจะต้องคำนึงถึง ความร้อนของเครื่องจักร และ ความดัน เพื่อไม่ให้เครื่องจักรนั้นเสียงหาย โดยอาจจะแก้โดยกล่องครอบเครื่องจักร (Acoustic Enclosure) ที่ใช้แก้ไขปัญหาที่เครื่องจักร และ Duct Lining , Silencer, Acoustic Louver ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่ใช้ในระบบลมให้มีความเหมาะสมตามการใช้งาน ทั้งนี้อาจจะสามารถแก้ไขได้จากห้องโดยใช้หนังกั้นเสียง(Sound wall)เพื่อลดเสียงสะท้อนและไม่ให้เสียงนั้นออกไปสู่ภายนอกบริเวณพื้นที่

การออกแบบควบคุมเสียงในโรงงานพื้นที่เปิด  Noise Control design for Open Plant

        การออกแบบการควบคุมเสียงในโรงงานพื้นที่เปิดนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงสภาวการณ์ของโรงงานตั้งแต่ช่วงก่อสร้าง(Construction), ช่วงทดสอบเครื่องจักร(Commissioning) และช่วงเวลาเดินเครื่องจักรทั้งช่วงเริ่มเดินเครื่องจักร,ระหว่างเดินเครื่องจักรและช่วงหยุดเครื่องจักร ซึ่งแต่ละสภาวการณ์นั้นจะมีระดับเสียงที่แตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีการออกแบบการควบคุมเสียงเพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมเสียงให้มีประสิทธิผลในทุกช่วงสภาวการณ์. นอกจากนี้การออกแบบการควบคุมเสียงในโรงงานพื้นที่เปิดนั้นต้องคำนึงถึงเครื่องจักรซึงเป็นแหล่งกำเนิดเสียง การสร้างข้อกำหนดของเครื่องจักรที่ช่วยเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเสียงที่ดังมาจากเครื่องจักรนั้นมีระดับความดังถูกต้องตามมาตรฐาน และ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเสียงนบกวน หรือ เกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการทำงานตามมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในสานที่ทำงาน. ซึ่งข้อกำหนดนั้นจะประกอบไปด้วยการกำหนดระดับเสียง Sound pressure level และ Sound Power Level สูงสุดของเครื่องจักร หรือ ระบบต่างๆในพื้นที่โรงงาน. เครื่องจักรที่มักมีเสียงดังเช่น

        Compressor
        - Pumps
        - Blowers
        - Agitator
        - Press machine
        - Cooling Tower
        - Chiller
        - Gas Turbine
        - Generator
        - Control valves
        - Safety/relief valves
        - Piping
        - Vents

        แนวทางการออกแบบเพื่อควบคุมเสียงนั้นจะต้องคำนึงถึงถึงปัจจัยต่างๆของเครื่องจักรทั้งความร้อน, ความถ่ายเทของอากาศ, ความดันของอากาศที่เครื่องจักรนั้นใช้, สารหรือวัสดุของเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เครื่องจักร หรือ ผลผลิตของเครื่องจักรนั้นมีความเสียหายได้  โดยแนวทางการควบคุมเสียงด้วยอุปกรณ์และกลยุทธการจัดการกับเสียงมีดังนี้

                อุปกรณ์ควบคุมเสียง

                -Acoustic Enclosure / Acoustic Cabin
                -Silencer guideline
                -Acoustic Pipe Insulation Guideline
                -Acoustic louver
                -Acoustic isolation


(ก)


(ข)


(ค)

รูปที่ 5 (ก) Acoustic cabin (ข) Acoustic louver (ค) Duct silencer

           กลยุทธการจัดการกับเสียง

                - การย้ายตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียง
                การเลือกใช้ Buffer building ในการลดเสียง
                - การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกนเสียงส่วนบุคคลเฉพาะพื้นที่

การออกแบบควบคุมเสียงในพื้นที่ภายนอก Noise Control design for Outdoor

            การกระจายเสียงในพื้นที่เปิดโล่งนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยอาทิเช่น ทิศทางลม, สภาพภูมิศาสตร์ในพื้นที่, ทิศทางของแหล่งกำเนิดเสียง, อุณภูมิและความชื้น โดยการคำนวณการลดเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงมายังพื้นที่ที่ได้รับการรบกวนสามารถทำได้ตาม ISO9613-1 และ ISO9613-2 ซึ่งมีรูปแบบต่างๆที่ต้องคำนึงถึงเช่น

        - การดูดกลืนเสียงของชั้นอากาศ

        - ปัจจัยของลักษณะพื้นที่เสียงกระจายผ่าน เช่น พื้นที่เป็นทุ่งหญ้า หรือ พื้นที่เป็นคอนกรีต สภาพการสะท้อน และ หักเหของเสียงจะแตกต่างกัน

        - สภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ เช่น ระดับ พื้นที่สูงหรือต่ำ หรือการมีกำแพง ล้วนมีผลต่อลักษณะการกระจายเสียงในพื้นที่ภายนอก

        - ลักษณะของกำแพงกั้นเสียง รูปแบบต่างๆ ย่อมมีการปิดกั้นเสียงได้แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการหักเห และ การสะท้อน ออกจากผู้ได้รับเสียงรบกวน หรือ เข้าไปยังผู้ได้รับเสียงรบกวน 


            ความถูกต้องแม่นยำ ของการคำนวณด้วยมาตรฐานนี้ ยังมีข้อจำกัดอันส่งผลให้ มีนักวิทยาศาสตร์ หรือ นักคณิตศาสตร์หลายท่านที่พยายามนำมาตรฐาน ISO 9613 มาเปรียบเทียบ กับแบบจำลองที่คิดค้น เพื่อให้ผลการตรวจวัดจริงใกล้เคียงกับการคำนวณให้มากที่สุด  โปรแกรมจำลองการกระจายเสียงในพื้นที่ภายนอก  ใน Module Sound Propagation โดยโปรแกรม Olive Tree Suite (OLT 3.0)  ได้ทดสอบการคำนวณ เปรียบเทียบ กับ ISO 9613  และเป็นแนวทางที่พบว่า ใกล้เคียงกับการตรวจวัดจริง  
          จากแนวทางการใช้โปรแกรมทางคณิตศาสตร์มาคำนวณ ดูภาพการกระจายเสียงแต่ละย่านความถี่  ช่วยให้ผู้ออกแบบการควบคุมเสียงในพื้นที่ด้านนอก ทำได้ ถูกต้องแม่นยำ เช่น การสร้างกำแพงกั้นเสียง  การเลือกใช้วัสดุในการปิดกั้นเสียง  ซึ่งทำให้สามารถที่จะเพิ่ม ศักยภาพให้กับงานควบคุมเสียงนั้น ๆ 

การออกแบบ งานควบคุมเสียงในห้อง Noise Control design for Room

    การออกแบบงานควบคุมเสียงในห้องจะแตกต่างจากงานประเภทอื่น โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือจุดประสงค์ของห้องนั้นว่าเราจะนำใช้อะไร เพื่อให้อยู่ในกรอบของมาตรฐานต่าง ๆ และให้ห้องนั้นเหมาะสมตามการใช้งาน
    โดยสิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์อย่างแรกคือ แหล่งกำเนิดเสียงภายในห้องว่ามีกำลังเท่าไหร่ และ ใช้ในรูปแบบอะไร และสิ่งที่สองคือสภาพของห้อง ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ต่าง ๆในห้องว่ามีการซับเสียงสะท้อนไปมากน้อยแค่ไหน และผนัง พื้น เพดาน ใช้วัสดุอะไรในการออกแบบเพื่อนำไปวิเคราะห์หาค่า Reverberation Time (RT-60) หรือ ค่า ความชัดเจนของคำพูด (Intelligibility of Speech) และแก้ไขค่า RT60 และใช้ค่า NR(Noise rating) หรือ NC(Noise Cirteria) ที่แนะนำเพื่อเป็นตัวชี้ว่าห้องที่ใช้ในวัตถุประสงค์นี้อยู่ในระดับมาตรฐาน
    วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างห้อง ประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ ดังนี
            - พื้น
            - ผนัง
            - หลังคา
            - ประตู
            - หน้าต่าง
            - อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในห้อง
            - แหล่งกำเนิดเสียง เช่น ลำโพง เวที เป็นต้น
            - วัสดุตกแต่งภายใน  วัสดุกระจายเสียง หรือ วัสดุดูดกลืนเสียง  


ายงานผล (Report)

การรายงานผลเป็นการทำเอกสารหรือหลักฐานว่าสถานที่แห่งนั้นหรือเครื่องจักรเครื่องนั้นกำเนิดเสียงรบกวนหรือเป็นอันตรายต่อผู้ทำงาน ณ บริเวณนั้นหรือไม่โดยภายในรายงานนั้นจะประกอบไปด้วย อุปกรณ์ที่, วิธีการวัดเสียง, วิธีการคำนวณ และ เกณฑ์ที่นำมาใช้ในการประเมิณซึ่งการรายงานผลการวัดการประเมิณเสียงสำหรับประเทศไทย ผู้ทำรายงานต้องทำรายงานที่มีเนื้อหาและวิธีการวัดประเมิณตามรายงานผลต่อไปนี้
- รายงานผลตามกฎกระทรวง        
- รายงานการตรวจวัดเสียง ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ

ความคิดเห็น