ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อันตรายและสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ


อันตรายและสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  



การได้รับหรือสัมผัสเสียงดังในระยะเวลานานจะทำให้เกิดการสุญเสียการได้ยินหรือความสามารถในการได้ยินเสียงลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีการได้ยินเสียงปกติ การสูญเสียการได้ยินจะเกิดจากเสียงดังโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ ระดับความดังเสียง ชนิดของเสียง ระยะเวลาที่ได้รับเสียงต่อวัน และตลอดอายุการทำงาน นอกจากนี้ยังพบปัจจัยอื่นที่มีส่วนทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน เช่น ความไวต่อเสียงในแต่ละบุคคล อายุ สภาพแวดล้อมของแหล่งกำเนิดเสียง ฯลฯ
การสูญเสียการได้ยิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และการสูญเสีย การได้ยินแบบถาวร การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว จะเกิดขึ้นจากการสัมผัสเสียงดังเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทําใหเซลล์ขนกระทบกระเทือนไม่สามารถทํางานได้ชั่วคราวแต่เซลล์ขนจะกลับสู่สภาพเดิมได้หลังสิ้นสุดการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลาประมาณ14–16ชั่วโมง แต่การสูญเสียการได้ยินแบบถาวรจะไม่สามารถทําการ รักษาให้การได้ยินกลับคืนสภาพเดิมได้

โดยปกติมนุษย์จะได้ยินเสียงในช่วงความถี่ตั้งแต่ 20–20,000 Hz ถ้าต่ำกว่าหรือสูงกว่านี้จะไม่สามารถ รับรู้ได้ โดยทั่วไปการสูญเสียการได้ยินจะเริ่มที่ความถี่ 4,000 Hz เป็นลําดับแรก ในระยะเวลาต่อมา จึงจะสูญเสียการได้ยินที่ความถี่สูงกว่าหรือต่ำกว่าที่ความถี่ 4,000 Hz ส่วนความถี่ของการสนทนาซึ่งมี ความถี่ต่ำ คือ ที่ 500 – 2,000 HZ จะสูญเสียช้ากว่าที่ความถี่สูง

เสียงดังตลอดเวลาการทํางาน อาจทําให้เกิดอุบัติเหตุในการทํางานได้ ทั้งนี้เพราะเสียงดังทําให้ พฤติกรรมส่วนบุคคลเปลี่ยนแปลง เช่น บางคนอาจรู้สึกเชื่องช้าต่อการตอบสนองต่อสัญญาณต่างๆ ความว้าวุ่นใจจนทํางานผิดพลาดจนเกิดอุบัติเหตุขึ้น นอกจากนี้ ยังรบกวนการติดต่อสื่อสาร ทําให้ผู้ปฏิบัติงาน ไม่ได้ยินสัญญาณอันตรายที่ดังขึ้นหรือไม่ได้ยินเสียงเตือนของเพื่อนพนักงานจนอาจทําให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

วิธีการสังเกตเบื้องต้นว่าสิ่งแวดล้อมการทํางานของเรา มีเสียงดังที่อาจเป็นอันตรายต่อการได้ยิน หรือไม่ ทดสอบได้โดยยืนห่างกัน 1 เมตร แล้วพูดคุยกันด้วยเสียงปกติ ถ้าไม่สามารถได้ยินและต้องพูดซ้ำๆ หรือตะโกนคุยกัน แสดงว่าสภาพแวดล้อมการทํางานนั้นมีความดังเสียงประมาณ 90 dB(A) หรือมากกว่า




ความคิดเห็น